วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปรับปรุงงานวิจัยพฤติกรรมในการเลือกใช้ร้านไอศกรีมของนักศึกษา


พฤติกรรมในการเลือกใช้ร้านไอศกรีมของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ
ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย
           ไอศกรีมเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนมีการตั้งข้อสังเกตว่าคงเริ่มขึ้นในปลายสมัยราชการที่5ไอศกรีมชนิดแรกที่คนไทยคุ้นเคยคือไอศกรีมหวานเย็นทำจากน้ำหวานหรือน้ำผลไม้เอาไปปั่นเย็นจนแข็งและนอกจากนั้นจะมีไอศกรีมหลากรสให้เลือกแล้วยังมีท็อปปิ้งอีกกว่า 30 ชนิด ให้ได้เลือกใส่ราดหน้าบนไอศกรีมเพื่อเพิ่มอรรถรสในการกินไอศกรีมอาทิ ลูกเชอรี่ วปปิ้งครีม อัลมอนด์สไลด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ลูกเกรด ฟรุ๊ตสลัด เอ็มแอนด์เอ็ม  วอฟเฟิล ช็อคโกแลตเม็ด มะพร้าววอบ คิดแคท ซอสวนิลา ซอสสตรอเบอร์รี่ ซอสช็อคโกแลต คราราเมลและอื่นๆอีกมากมาย  ในการค้าปัจจุบันมีการจัดกล่มไอศกรีมไว้หลายประเภทเช่น  Plain ice ceam,Chocolate,Fruit,Nut, Frozen,Custard,French Ice Cream, French Custrad Ice cream, Fruit Sherbet,Confection, Soft Serve Ice Cream, Fruit Ice milk และ Rainbow Ice Cream (ศกุนตรา สายเชื่อ,2550)
            ไอศกรีมเป็นอาหารว่างอย่างหนึ่งที่ใช้พลังงานสูง ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ทำเหมาะกับเด็กที่กำลังเจริญเติบโตหรือคนที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักปัจจุบันมีการผลิตไอศกรีมโดยคนไทยเองเป็นภูมิปัญญาไทยจากผลไม้และสมุนไพรของคนไทยเกิดขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนาง น้อยหน่า มะขาม เสาวรส หรือไอศกรีมจากดอกไม้ เช่น ไอศกรีมจาดดอกกุหลาบ ดอกเก๊กห๊วย และดอกกระเจี๊ยบแดงเป็นต้น
             จากสภาวการณ์การเจริญเติบโตของร้านไอศกรีมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประกอบกับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในด้านรสชาติที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคอาจจะส่งผลต่อการตัดสินการเลือกใช้บริการร้านไอศกรีมของผู้บริโภคได้โดยงานวิจัยดังกล่าวจะนำปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจการเลือกใช้บริการร้านไอศกรีมของผู้บริโภคได้ โดยงานวิจัยดังกล่าวจะนำปัจจัยต่างส่งผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งการศึกษาถึงปัจจัยต่างดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจได้เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดวัตถุดิบในการผลิตและต้นทุนในส่วนอื่นๆหรือการปรับปรุงลักษณะร้านไอศกรีมให้เหมาะสมต่อความต้องการของผู้บริโภค
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
           1. เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของกลุ่มของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ)  กลุ่มของนักเรียนโรงเรียนบึงกาฬ และกลุ่มของบุคลทั่วไป ในการเลือกใช้บริการร้านไอศกรีม
            2.เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ)  กลุ่มของนักเรียนโรงเรียนบึงกาฬ และกลุ่มของบุคลทั่วไป เช่น อุปนิสัยในการรับประทานไอศกรีมในเวลา ลักษณะในการใช้บริการเป็นต้น
            3. เพื่อศึกษาว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ในการบริโภคร้านไอศกรีม
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
        ทฤษฎีอุปสงค์
ทฤษฏีอุปสงค์เป็นทฤษฏีที่อธิบายถึงปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ การที่จะเป็นอุปสงค์ได้ต้องประกอบด้วย ผู้บริโภคมีความปรารถนาที่จะบริโภคสินค้าและบริการชนิดหนึ่ง อีกทั้งผู้บริโภคยังต้องมีความสามารถและความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นตอบสนองความต้องการของตน
                การที่ผู้บริโภคจะมีอุปสงค์หรือปริมาณการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดเป็นจำนวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญซึ่งเป็นตัวกำหนดอุปสงค์ดังนี้
         1.ราคาของสินค้าและบริการ คือ ถ้าราคาเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณความต้องการลดลง  แต่ถ้าราคาลดลงจะส่งผลให้ปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น
         2.ระดับรายได้ของผู้บริโภค คือ รายได้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงจะทำให้ความต้องการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
         3.ราคาสินค้าและบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง คือ ถ้าราคาสินค้าและบริการอื่นๆเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปริมาณความต้องการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
         4.รสนิยมของผู้บริโภค คือ อารมณ์หรือความชอบในสินค้าและบริการในช่วงเวลาต่างๆ
         5.ฤดูกาล คือ จะทำให้ผู้บริโภคสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
 จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้นสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับปัจจัยเหล่านี้ในรูปของฟังก์ชั่นของอุปสงค์
แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด
1.                ผลิตภัณฑ์หรือบริการ  (Product) หมายถึง สิ่งที่เสนอแก่ผู้บริโภคเพื่อตอบสนองต่อความต้องการหรือความจำเป็น
2.                ราคา (Price) หมายถึง การที่ผู้บริโภคจ่ายค่าผลิตภัณฑ์หรือค่าบริการแก่ผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการจะเป็นผู้กำหนดราคา
3.                สถานที่ (Place) หมายถึง สถานที่จัดจำหน่ายหรือให้บริการ ความสามารถในการเข้าถึงหรือความสะดวกที่จะไปถึงบริการที่เสนอให้
4.                การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) หมายถึง การแจ้งหรือบอกกล่าวให้ผู้บริโภคได้ทราบลักษณะของบริการตลอดจนคุณค่าและประโยชน์ของบริการ


2.กระบวนการตัดสินใจซื้อ (The buyer – Decision  Process)
            ในกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค(ณัฐพร  ยอดไกรศรี 2543 อ้างใน ชลิดา  บุญเรืองขาว  2551) โดยปกติแล้วผู้บริโภคจะมีขั้นตอนในการตัดสินใจซื้ออยู่ 5 ขั้นตอน ได้แก่  ความรับรู้ถึงความต้องการหรือรับรู้ถึงปัญหาการค้นหาข้อมูล  การประเมินทางเลือก  การตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมหลังการซื้อ
รายละเอียดดังต่อไปนี้
        ความรับรู้ถึงความต้องการ (Need recognition) หรือรับรู้ถึงปัญหาการ จุดเริ่มต้นของกระบวนการซื้อคือ สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการหรือถูกกระตุ้นให้เกิดความต้องการ สิ่งกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคนั้นอาจเป็นสิ่งกระตุ้นจากภายในร่างกายของผู้บริโภคเอง หรือนักตลาดอาจจะสร้างสิ่งกระตุ้นทางการตลาดให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการขึ้นมาได้      ในบางครั้งความต้องการที่ได้รับกระตุ้นอาจจะคงอยู่เป็นเวลานาน หรืออาจจะคงอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆก็ได้
        การค้นหาข้อมูล (Information Search)  เมื่อผู้บริโภคเกิดความต้องการแล้วก็จะมีการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะที่สำคัญเกี่ยวกับประเภทของสินค้า  ราคาสินค้า สถานที่จำหน่ายและข้อเสนอพิเศษต่างๆเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการหลายยี่ห้อ นักการตลาดจะสนใจถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ และอิทธิพลของแหล่งข้อมูลที่จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแหล่งข้อมูลของผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ แหล่งบุคคล คือ เพื่อนสนิท ครอบครัว ซึ่งมีอิทธิต่อผู้บริโภคมากที่สุด แหล่งการค้า คือ โฆษณาต่างๆ แหล่งสาธารณะ คือ สื่อมวลชนต่างๆและแหล่งทดลอง คือ ผู้ที่เคยทดลองใช้สินค้าหรือบริการนั้นมาแล้ว
การตัดสินใจซื้อ (Purchase  Decision)  เมื่อผ่านขั้นตอนของการประเมินทางเลือกแล้วผู้บริโภคจะได้สินค้าที่ตรงกับความต้องการมากที่สุดและจะเกิดความต้องการที่จะซื้อแต่อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่ต้องการจะซื้อจริงๆ อาจจะมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องเข้ามากระทบอีกก็ได้ เช่น ปัจจัยทางด้านสังคม ปัจจัยทางด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคมีความตั้งใจที่จะซื้อแล้วแต่ก็อาจจะไม่เกิดการซื้อขึ้นจริงๆก็เป็นได้
พฤติกรรมหลังการซื้อ  (Post purchase) หลังจากที่ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าไปแล้วนั้น  ถ้าเกิดความพึงพอใจก็จะกลับมาซื้อสินค้านั้นๆ อีกครั้ง  แต่ถ้าหากผู้ซื้อไม่เกิดความพึงพอใจก็อาจจะไม่ซื้อสินค้านั้น จากสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น  สามารถสรุปเป็นแผนผังเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจได้ดังนี้

 


 







                                                        รูป  แสดงกระบวนการตัดสินใจซื้อ
  3. ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้บริโภค ( Theory of Consumer Behavior )
             พฤติกรรมของผู้บริโภค  ( Consumer Behavior )  หมายถึง การแสดงออกของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สินค้าและบริการทางเศรษฐกิจ  รวมทั้งกระบวนการในการตัดสินใจที่มีผลต่อการแสดงออก
             ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค  หมายถึง  การศึกษาเพื่อทราบถึงความต้องการ ความจำเป็นของผู้บริโภคที่เป็นตลาดเป้าหมาย   เพื่อว่างแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตอบสนองความต้องการบริโภคนั้นๆ  และเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุด  ( ฉลองศรี  พิมลสมพงศ์  , 2542 : 33-44 )
           คำถาม 7 คำถามที่นิยมใช้ค้นหาพฤติกรรมการบริโภค ประกอบด้วย  6Ws และ 1H  โดย 6Ws  คือ Who ,What ,Why ,When ,Where  และ How
คำตอบ 7 คำตอบที่ต้องทราบเพื่อรู้จักพฤติกรรมการบริโภค ประกอบด้วย  7Os คือ Occupants, Objects, Occasions, Outlets และ Operations
ตารางที่2.1 โมเดล 6W’s 1H
คำถาม
คำตอบ
กลยุทธ์
1.ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย
(Who is in the target market)
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายOccupantsประชากรศาสตร์ จิตวิทยา พฤติกรรมการบริโภค
กลยุทธ์ 4Psหรือมากกว่าProduct, Price, Place, Promotionที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
2.ผู้บริโภคซื้ออะไร(What does the consumer buy?)
สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อObjectsได้แก่ สินค้าและบริการ คุณสมบัติและองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์
กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ ราคา ภาพลักษณ์
3.ทำไมผู้บริโภคถึงซื้อ(Why does the consumer buy?)
 วัตถุสงค์การซื้อObjectives ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ ได้แก่ ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และปัจจัยเฉพาะบุคคล
กลยุทธ์การสงเสริมด้านการตลาด ศึกษาเหตุจูงใจในการซื้อ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการในการเลือกใช้บริการ

4.ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกซื้อ(Who participates in the buying?)

บทบาทของกลุ่มต่างๆOrganizations ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ ประกอบด้วย ผู้ริเริ่ม ผู้ตัดสินใจซื้อ ผู้ซื้อ ผู้ใช้

กลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริม การตลาด โดยใช้กลุ่มอิทธิพลและกลุ่มเป้าหมาย เป็นแนวทางการสร้างสรรค์โฆษณาและการเลือกใช้โฆษณาให้เหมาะสม
5.ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด(When does the consumer buy?)
โอกาสในการซื้อOccasionsช่วงเวลาว่างจากการเรียน ช่วงเช้า เย็น
กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด เช่น การส่งเสริมการขาย
6.ผู้บริโภคซื้อที่ไหน(Where does the consumer buy?)
แหล่งหรือสถานที่จำหน่ายOutlets เช่น แหล่งผลิต แฟรนไซน์
กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายโดย
แฟรนไซน์
7.ผู้บริโภคซื้ออย่างไร(How does the consumer buy?)
ขั้นตอนOperations ในการตัดสินใจซื้อ
กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดและการตั้งราคาให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์
ที่มา:ศิริวรรณ เสรีรัตน์
       รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค  เป็นการศึกษาถึงเหตุจูใจที่ทำให้เกดการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์  โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกดความต้องการ สิ่งกระต้นผ่านข้ามาในความรู้สึกของผู้ซื้อ ซึ่งเปรียบเสมือนกล่องดำ และผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่สามารถคาดคะเนได้ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อจะได้รับอิทธิพลต่างๆของผู้ซื้อแล้วจะมีการตอบสนองของผู้ซื้อหรือการตัดสินใจของผู้ซื้อ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการร้านไอศกรีมของผู้บริโภคและร้านอาหารที่ได้มีการศึกษามาก่อนแล้วในประเด็นต่างๆซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละประเด็นที่สำคัญดั้งต่อไปนี้
1.พฤติกรรมการบริโภค
จากการศึกษาของ  จุฑาทิพย์   พงศ์เลขา (2549) ซึ่งได้ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  (วิทยาเขตบึงกาฬ)  พบว่าวัตถุประสงค์หลักในการบริโภคเพื่อลดอาการง่วงนอนและใช้ร้านกาแฟเป็นที่นัดพบและผ่อนคลายความเครียด โดยมีปริมาณการบริโภคกาแฟอยู่ที่ 1 แก้วต่อวันและใช้บริการ 1-2ครั้งต่อสัปดาห์และมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่41-60บาทซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีระดับอายุส่วนมาก 21-23ปี มีรายรับอยู่ประมาณ 5001-6500 บาท นอกจากนี้แล้ว จากการศึกษาของ  ปานชนก   โพธิสุนทร  (2549)ที่ได้ศึกษาในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (วิทยาเขตบึงกาฬ) กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง นม และกาแฟ พบว่าในวัตถุประสงค์หลักในการไปใช้บริการเพื่อบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม โดยจะบริโภค 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 50 บาทผู้บริโภคส่วนมากจะมีอายุในช่วง 18-22 ปีมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 7000 บาท และยานพาหนะส่วนใหญ่ที่ใช้คือ รถจักยานยนต์ นอกจากนั้นยังพบอีกว่านักศึกษาส่วนใหญ่เลือกที่จะบริโภคนมมากกว่ากาแฟ
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สถานบริการร้านอาหารของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในอำเภอเมืองจังหวัดบึงกาฬนั้นทราบแหล่งข้อมูลมาจากเพื่อน ผู้คุ้นเคย หนังสือท่องเที่ยวและตามสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ โดยมีปัจจัยสำคัญที่มีพลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนใหญ่คือ ระดับราคามีความสมเหตุสมผล รสชาติของอาหาร ความสะอาด บรรยากาศโดยรวมและสิ่งอำนวยความสะดวกและ การบริการ และการเลือกใช้บริการร้านอาหารจะเลือกใช้บริการร้านที่มีบริเวณที่ตั้งไม่ไกลจากที่พักนัก โดยต่อมา อรุณาภรณ์    ยอดขำ (2550) ที่ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านไอศกรีม Homemade กรณีศึกษาร้าน boat ร้านIberryและร้านมนต์นมสด ได้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการเลือกใช้บริการมากที่สุดคือ ความสะอาดของร้านคุณภาพและรสชาติของไอศกรีม
            จากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในส่วนของเรื่อง พฤติกรรมในการเลือกใช้บริการร้านไอศกรีมของผู้บริโภค ทำให้ทราบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคและระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เคยศึกษามาก่อนหน้านี้มีลักษณะอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของช่วงอายุ ระดับรายได้ ลักษณะความสัมพันธ์หรือจุดประสงค์หลักในการเลือกใช้บริการก็ตามที่สำคัญยังทำให้ทราบว่าในช่วงเวลานั้นๆ ผู้บริโภคมีความต้องการเกี่ยวกับร้านไอศกรีมในด้านใดมากที่สุดซึ่งถือได้ว่าข้อมูลในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสามารถตอบโจทย์ได้ตามที่ต้องการ แต่เนื่องสภาวการณ์ระยะเวลาที่เปลี่ยนไปการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจึงส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงเป็นคำถามสำคัญว่าเมื่อระยะเวลาเปลี่ยนไป พฤติกรรมของผู้บริโภคยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม และการวิจัยครั้งนี้ยังเพิ่มในส่วนของร้านไอศกรีมที่ผู้บริโภคนิยมไปรับประทาน ลักษณะที่ผู้บริโภคนิยมรับประทาน และ เหตุผลของผู้บริโภคว่าทำไมถึงชอบนำไปรับประทานไอศกรีม โดยการวิจัยนี้สามารถที่จะนำไปจัดการกับระบบการผลิตและการควบคุมของร้านไอศกรีมให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
       สมมติฐาน
1. ลูกค้าทีม ีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกใช้ร้านไอศกรีมแตกต่างกัน
2. ลูกค้าทีม ีอายุแตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกใช้ร้านไอศกรีมแตกต่างกัน
3. ลูกค้าทีม ีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกใช้ร้านไอศกรีมแตกต่างกัน
4. ลูกค้าทีม ีอาชีพแตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกใช้ร้านไอศกรีมแตกต่างกัน
5. ลูกค้าทีม ีรายได้แตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกใช้ร้านไอศกรีมแตกต่างกัน

การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย
                ผู้บริโภค คือ ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ ในการศึกษาครั้งนี้ คือ  บุคคลทั่วไป
                ไอศกรีม คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอิมัลชัน (emulsion) ของไขมันและโปรตีน พร้อมด้วยส่วนประกอบอื่นที่เหมาะสม หรือได้จากส่วนผสมของน้ำ น้ำตาล กับส่วนประกอบของสารอื่นที่เหมาะสม ซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อน นำมาปั่นหรือกวนและทำให้เยือกแข็ง ซึ่งไอศกรีมจัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 222) ..2544เรื่องไอศกรีม จะต้องมี คุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ภาชนะบรรจุตลอดจนฉลากต้องผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่ามีความถูกต้องเหมาะสม จึงจะสามารถผลิตหรือนำเข้าเพื่อออกจำหน่าย
                ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1 เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของลูกค้าในการประกอบธุรกิจร้านไอศกรีม
2 เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสอนใจสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจ
3 เพื่อให้ทราบถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจหรือผลตอบแทนในการลงทุน
4 เพื่อนำข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้บริโภค พฤติกรรมผู้บริโภค และจุดประสงค์ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกบริโภคร้านไอศกรีม มาใช้กำหนดเป็นกลยุทธ์ในการวางแผน พัฒนา ปรับปรุงการผลิตและบริการ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานวิจัยร้านไอศกรีม

สมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาวทิพวรรณ   เปาวะนา         รหัส 53540427130
2.นางสาวสุทธิศา     จันอ้วน           รหัส 53540427125
3.นางสาวพลอยประดับ  งามเลิศ      รหัส 53540427115
4.นางสาวกาญจนา    อาจสุวรรณ     รหัส 53540427119